นาโนเทคโนโลยีชีวภาพกับการเกษตรไทย
เนื่องจากนาโนเทคโนโลยีมีขอบเขตกว้างขวางครอบคลุมเกือบทุกสาขาวิชาทางด้าน วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ดังนั้น หากประเทศไดทขาดการพัฒนาเทคโนโลยีอันเป็นพื่อนฐานในการพัฒนาทางด้านนาโนเทคโนโลยีแล้วละก็ ความก้าวหน้าในเทคโนโลยีจิ๋วนี้ก็คงเป็นไปได้ยาก และหากประเทศไทยยังไม่ให้ความสำคัญอย่างจริงจังต่อความก้าวหน้าทางด้านนาโนเทคโนโลยี โดยที่หลายคนยังมองว่าเป็นเรื่องไกลตัว และไกลจากความเป็นจริงอยู่มาก ในขณะที่นานาประเทศทั่วโลกได้เล็งเห็นถึงผลประโยชน์ที่จะได้รับจากนาโนเทคโนโลยีในระยะยาว และต่างพากันทุ่ม งบประมาณมหาศาลให้กับการวิจัยและพัฒนาเป็นอย่างมาก ประเทศไทยนั่นเองที่จะต้องได้รับ ผลกระทบอย่างรุนแรงจากความก้าวหน้าของเทคโนโลยี ที่จะวกกลับมาเล่นงานเราในท้ายที่สุด
ถ้าในอนาคตอันใกล้นี้ กลุ่มประเทศที่ต้องนำเข้าผลิตผลทางการเกษตรจากประเทศไทยในปัจจุบัน เช่น สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และสหภาพยุโรป ได้พัฒนานาโนเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับการเกษตร โดยใช้กระบวนการผลิตพืชผลทางการเกษตรที่ไม่ต้องขึ้นอยู่กับสภาพถูมิอากาศและสภาพ ภูมิประเทศ แรงงานและวัตถุดิบ จนกระทั่งสามารถสร้างผลิตผลทางการเกษตรและอาหารที่ปัจจุบันต้องนำเข้าจากประเทศไทยขึ้นมาได้เองจะส่งผลให้สินค้าทางการเกษตรที่เป็นรายได้หลักของประเทศไทยและประเทศเกษตรกรรมยากจนอื่นๆ จะไม่เป็นที่ต้องการในตลาดโลกอีกต่อไป
ยิ่งไปกว่านั้นในปัจจุบันนี้นาโนเทคโนโลยียังได้ก้าวเข้าไปมีบทบาทอย่างมากใน อุตสาหกรรมอาหาร สิ่งทอ ยางพารา บรรจุภัณฑ์อาหาร ฯลฯ ซึ่งอุตสาหกรรมเหล่านี้ล้วนแล้ว แต่เป็นอุตสาหกรรมที่ทำรายได้หลักให้กับประเทศไทยในปัจจุบัน ดังนั้นหากประเทศไทยยังคง นิ่งเฉยอยู่ต่อไป ในอนาคตอันใกล้นี้ก็คงจะต้องเผชิญกับวอกฤตทางเศรษฐกิจและสังคมครั้งใหญ่ ที่มีผลพวงมาจากนาโนเทคโนโลยีอย่างแน่นอน
ดังนั้น เพื่อเป็นการเสริมสร้างความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมการเกษตรและอาหารของไทยในตลาดโลกในอนาคต เราจำเป็นต้องพัฒนาวิทยาการทางก้านนาโนเทคโนโลยีของตนเองขึ้นมาในตอนนี้ โดยเริ่มจากการรวบรวมความรู้และงานวิจัยต่างๆ ที่มีอยู่แล้วในประเทศไทย และเรียนรู้เพิ่มเติมจากประเทศอื่นๆ ที่มีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีอยู่ในขณะนี้

สำหรับนาโนเทคโนโลยีที่เหมาะสมจะเป็นหลักในการพัฒนาประเทศไทยในอนาคต ควรมีลักษณะดังนี้
1) นาโนเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ที่ตลาดโลกต้องการและเป็นจุดแข็งของประเทศไทย
2) นาโนเทคโนโลยีทางก้านที่ไม่ถูกต่อต้านและมีโอกาสสำเร็จในแง่ของการยอมรับจาก ผู้บริโภคทั้งในและนอกประเทศและ
3) จะต้องพัฒนาต่อยอดขึ้นไปได้โดยที่ประเทศไททยมีความสามารถพร้อมอยูแล้ว หรือมีโอกาสได้เทคโนโลยีมาในเวลาอันใกล้
นักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญหลายท่านได้ประเมินกันว่าประเทศไทยควรจะส่งเสริมการศึกษาและพัฒนานาโนเทคโนโลยีโดยเน้นหนักไปทางด้านนาโนเทคโนโลยีทางขีวภาพโดยเฉพาะ วิทยาการที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมการเกษตรและอาหาร เนื่องจากประเทศไทย มีความ หลากหลายทางชีวภาพ และมีศักยภาพสูงในก้านการผลิตสินค้าทางการเกษตรและผลิตภัณฑ์อาหาร รวมทั้งมีพื้นฐานความรู้ทางด้านเทคโนโลยีชีวภาพที่ค่อนข้างแข็งแกร่งรองรับอยู่แล้ว ซึ่งสามารถ นำมาใช้เป็นจุดแข็งให้กับพัฒนาการของนาโนเทคโนโลยีทางชีวภาพ ของประเทศไทยต่อไปได้ในอนาคต โดยที่แนวทางดังกล่าวนี้สอดคล้องเป็นอย่างดีกับเป้าหมาย ระดับชาติข้อที่สอง ของกรอบนโยบายการพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพของประเทศไทยตั้งแต่ปี 2547 – 2554 ในการที่จะผลักดันให้ประเทศไทยเป็นครัวของโลก
อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าในอนาคตประเทศไทยจะสามารถผลิตสินค้าทางการเกษตรและ ผลิตภัณฑ์อาหารได้เป็นปริมาณมหาศาล แต่ประเทศมหาอำนาจทั้งหลายก็สามารถหาช่องทางอาศัย มาตรการการกีดกันสินค้าทางการเกษตรและผลิตภัณฑ์อาหารไทย โดยอ้างถึงคุณภาพของสินค้าที่ไม่ได้มาตรฐาน และมักจะมีการปนเปื้อนจากสารเคมีตกค้างหรือจุลินทรีย์ก่อโรคที่อาจเป็นอันตรายต่อผูบริโภคในประเทศนั้นๆ ได้
ดังนั้นเราจึงต้องรีบเร่งหาวิธีการพัฒนาคุณภาพของสินค้าทางการเกษตรให้ได้ตรงตาม มาตรฐานสากล เพื่อที่จะสามารถส่งสินค้าเหล่านี้ออกไปขายในตลาดโลกได้โดยไม่ถูดกีดกันเหมือนที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน และเพื่อใช้ในการคนุ้มครองความปลอดภัยของผู้บริโภคภายในประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพไปในเวลาเดียวกัน
ในที่นี้จะกล่าวถึงภาพรวมของนาโนเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมการเกษตร โดยได้ยกตัวอย่างงานวิจัยทางด้านนาโนเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องและเคยมีรายงานไว้ทั้งภายในประเทศไทยและในต่างประเทศโดยแยกออกเป็นหัวข้อย่อยๆ ดังต่อไปนี้

ข้าว
นาโนเทคโนโลยีสามารถสำมาใช้ปรับปรุงพันธุ์ข้าวให้มีคุณลักษณะตามที่ต้องการ ทางเศรษฐกิจ เช่น คุณภาพหุงต้ม หอม ต้านทานโรคไหม้ ต้านทานเพลี้ยชนิดต่างๆ ทนต่อน้ำท่วม มีคุณค่าทางโภชนาการสูง
ศ.ดร. ถิรพัฒน์ วิลัยทอง ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยนิวตรอนพลังงานสูง (Fast Neutron Research Facility) ณ ภาควิชาฟิสิกส์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้ริเริ่มพัฒนาเทคนิคทาง นาโนเทคโนโลยีในการปรับปรุงพันธุ์ข้าวไทยโดยใช้ลำอนุภาค (particle beam) เจาะรูขนาดนาโนขึ้นที่ผนังเซลล์และเยื่อหุ้มเซลล์ข้าว ต่อจากนั้นจะยิงอะตอมของไนโตรเจนผ่านรูที่สร้างขี้นผ่านเข้าไปในเซลล์ข้าวเพื่อกระตุ้นให้ ดีเอ็นเอของข้างเกิดการจัดเรียงตัวใหม่ อันจะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงพันธุ์ข้าวให้ตรงตามคุณลักษณะที่ต้องการต่อไป งานวิจัยนี้ได้ประสบความสำเร็จขั้นต้นไปแล้วจากการที่สามารถเปลี่ยนแปลงลักษณะของข้าวพันธุ์พื้นเมืองที่ชื่อว่า ข้าวคาม ซึ่งมีลำต้น ใบ และเม็ดสีม่วงเข้ม ให้กลายเป็นข้าวคามที่มีลำต้นและใบสีเขียว งานวิจัยในขั้นต่อไปคือการปรับปรุงพันธุ์ข้าวหอมมะลิ (Jasmine rice) ให้สามารถทำการเพาะปลูกได้ตลอดปี มีลำต้นสั้นลง ทนทานต่อแสงแดด และปรับปรุงสีของเมล็ดให้ดีขึ้น งานวิจัยนี้ได้รับการสนับสนุนทุนวิจัยจากสภาวิจัยแห่งชาติมาโดยตลอดข้าวที่ถูประบปรุงพันธุ์โดยวิธีการทางนาดนเทคโนโลยีนี้อาจจัดเป็น ข้าวดัดแปรอะตอม (Atomically Modified Rice) หรือเรียกสั้นๆ ว่า “ข้าวนาโน (Nano – rice)”

การเพาะเลี้ยงกุ้งและการประมง
ปัจจุบันกุ้งแช่แข็งนับว่าเป็นอุตสาหกรรมอาหารที่มีความสำคัญเป็นอันดับต้นๆ ที่มียอดการส่งออกเป็นอันดับหนึ่งของประเทศและของโลก สามารถนำเงินตราจากตลาดโลกเข้าประเทศได้ไม่ต่ำแสนล้านบาทต่อปี แต่อย่างไรก็ตาม ในระหว่างการเพาะเลี้ยงกุ้งมักมีการสูญเสียผลผลิตกุ้งเป็นจำนวนมหาศาลเกิดขึ้นทุกปี อันมีสาเหตุมาจากการระบาดของเชื้อไวรัสชนิดต่างๆ เช่น เชื่อไวรัสหัวเหลือง (Yellow Head Virus ) และเชื้อไวรัสตัวแด’ดวงขาว (White Spot Syndrome Virus) ซึ่งในปัจจุบันยังไม่มีหนทางในการรักษาได้ ดังนั้นการเฝ้าระวังและป้องกันก่อนที่เชื้อไวรัสจะ แพร่กระจายออกไปในวงกว่างจึงเป็นเพียงหนทางเดียวที่จะสามารถลดการสูญเสียผลผลิตกุ้งได้ ในปัจจุบันการตรวขวินิจฉัยเชื่อไวรัสดังกล่าวสามารถกระทำได้โดยการใช้เทคนิคพีซีอาร์ (PCR) แต่ในอนาคตมีความเป็นไปได้ที่จะมีการนำเอานาโนเซนเซอร์มาที่มีประสิทธิภาพสูงกว่ามาใช้ในการตรวจจับเชื้อไวรัส หรือแม้กระทั่งการทำลายเชื้อไวรัสโดยอาศัยเทคนิคทางนาโนเทคโนโลยี
สถาบันความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรมของประเทศญี่ปุ่น (National Institute of Advanced Industrial Science and Technology, AIST) ได้ประสบความสำเร็จในการค้นพบวิธีในการสร้าง ฟองนาโน (nano-bubbles) ที่มีความคงตัวสูงมาก แตกตัวยากในน้ำ สามารถเก็บกักก๊าซโอโซน (ozone) ไว้ภายในฟองได้นาน ทำให้สามารถนำเอา ฟองนาโน มาใช้ในการฆ่าเขื้อก่อโรนคในน้ำได้อย่างมีประสิทฑิภาพเป็นระยะเวลานาน และยังสามารถเก็บกัก ก๊าซออกซิเจนที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตของสัตว์น้ำได้เป็นเวลานาน ในขณะนี้ คณะผู้วิจัยจากสถาบันดังกล่าว กำลังพยายามในการนำเอา ฟองนาโน มาประยุกต์ใช้ในอุตสาหกรรมการประมง และการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำเศรษฐกิจ เช่น ปลา หอย และกุ้ง

ยางพารา
ในปัจจุบันนี้ประเทศไทยและมาเลเซียยังคงเป็นผู้นำในการส่งออกผลิตภัณฑ์ยางธรรมชาติของโลก แต่ในอนาคตมีแนวโน้มว่าความต้องการยางธรรมชาติในตลาดโลกอาจจุลดลงหรือถึงขนาดที่ไม่มีความต้องการเลยก็เป็นได้ เพราะในหลายประเทศ โดยเฉพาะสหรัฐฯ สามารถสังเคราะห์อนุภาคนาโน (nonoparticles) ที่สามารถเพิ่มความแข็งแกร่งและยืดอายุการใช้งานของยางรถยนต์ได้ยาวนานขึ้น หรือแม้กระทั่งสามารถสังเคราะห์วัสดุนาโน (nanomaterials) ที่สามารถใช้ทดแทนยางธรรมชาติได้อย่างสมบูรณ์แล้วในขณะนี้ นั่นหมายความว่าการส่งออกยางธรรมชาติของประเทศไทยจะต้องได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงแน่นอน ส่วนงานวิจัยทางด้านนาโนเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับยางพาราได้แก่ บริษัทกู๊ดเยียร์ (Goodyear) ยักษ์ใหญ่ในด้านอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ยาง ได้ใช้นาโนเทคโนโลยีในการพัฒนายางสังเคราะห์ชนิดใหม่ที่มีคุณสมบัติเหมือนกับหรืออาจจุดีกว่ายางธรรมชาติได้แล้วในขณะนี้ ซึ่งจะทำให้บริษัทสามารถลดปริมาณการนำเข้ายางธรรมชาติลงได้ร้อยละ 15 ในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า
บริษัทอินแม๊ต (Inmat LLC) ได้ใชเนาโนเทคโนโลยีในการผลิตสารเคลือบผิวยางที่สามารถป้องกันการรั่วซึมของอากาศออกมาจำหน่ายในเชิงพาณิชย์โดยใช้ชื่อทางการค้าว่า Air D-Fense ซึ่งสารดังกล่าวมาสารถนำไปใช้ในการปรับปรุงคุณภาพของผลิตภัณฑ์ยางธรรมชาติเพื่อใช้ผลิตอุปกรณ์กีฬาต่างๆ เช่น ลูกเทนนิสและลูกฟุตบอล ภายใต้ลิขสิทธิ์ของบริษัทวิลสัน (Wilson) ยักษ์ใหญ่ในวงการกีฬาโลก และใช้ปรับปรุงคุณภาพของยางรถยนต์และรถบรรทุกให้มีความทนทานมากขึ้นแต่น้ำหนักเบาลงป้องกันการรั่วซึมของอากาศที่บรรจุแยู่ภายในได้ดีมอายุใช้งานนานขึ้น มีประสิทธิภาพและความปลอดภัยมากขึ้น
ส่วนการเพิ่มมูลค่ายางพาราโดยใช้นาโนเทคโนโลยีที่กำลังดำเนินการวิจัยอยู่ในประเทศไทยได้แก่การสร้างถุงมือยางธรรมชาติที่สามารถป้องกันการติดเชื้อโรคได้โดยการบรรจุนาโนแคปซูลของยาฆ่าเชื้อโรคไว้ในเนื้อถุงมอยาง ซึ่งทำการพัฒนาโดย รศ. ดร. ประมวล ตั้งบริบูรณ์รัตน์ และคณะ ณ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

การเพาะปลูกพืชเศรษฐกิจ
ในปัจจุบันนี้ประเทศไทยมีปัญหาพื้นที่ดินเค็มที่ไม่สามารถทำการเพาะปลูกได้ครอบคลุมพื้นที่มากกว่า 17 ล้านไร่ใน 17 จังหวัด และมีแนวโน้มว่ากำลังขยายตัวออกไปอย่างต่อเนื่อง ซึ่ง เป็นสาเหตุให้ผลผลิตทางการเกษตรลดต่ำลง 2 – 3 เท่า ดังนั้นการนำเอานาโนเทคโนโลยีมาใช้ในการหยุดยั้งและปรับสภาพดินเค็มจึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่สามารถแก้ไขปัญหาดินเค็มได้อย่างมี ประสิทธิภาพ อันมีตัวอย่างงานวิจัยที่เกี่ยวช้อง คือ สถาบันวิทยาศาสตร์การเกษตรแห่งชาติจีน ได้ประสบความสำเร็จในการนำนาโนเทคโนโลยีมาปรับปรุงสภาพดินเค็มที่บริเวณปากแม่น้ำหวงเหอ ในมณฑลซานตง โดยการนำเอาสารละลายคาร์โบเนียมที่สังเคราะห์ขึ้นโดยนาโนเทคโนโลยี มาฉีดพ่นให้ทั่วบริเวณดินที่มีสภาพเสื่อม หลังจากนั้นจะเกิดปฏิกิริยาดูดซับเกลือออกมาจากดิน ทำให้ดินร่วนขึ้น และค่าพีเอชในดินจะเปลี่ยนสภาพเป็นกลาง กลายเป็นดินที่เหมาะสมกับการเพาะปลูกพืช
การเกษตรในปัจจุบันนี้มักมีปัญหาจากการระบาดของเชื้อโรคอยู่เสมอ เพราะว่าหลังจากที่พืชหรือปศุสัตว์ได้รับเชื้อก่อโรคเข้าไป จะต้องใช้เวลาหลายวัน หรือ หลายสัปดาห์ ก่อนที่พืชผลและปศุสัตว์จะแสดงอาการของโรคออกมาให้เห็น ซึ่งกว่าเกษตรกรจะรู้ตัวก็ไม่ทันการณ์เสียแล้ว เพราะเชื้อโรคได้แพร่กระจายออกไปในวงกว้างจนไม่สามารถควบคุมเอาไว้าได้ เหตุการณ์เช่นนี้มักเกิดขึ้นบ่อยครั้ง ทำให้เกิดการสูญเสียผลผลิตทางการเกษตรไปอย่างมหาศาล ดังเช่น การแพร่ระบาดของไข้หวัดนกในช่วงปลายปีที่ผ่านมา เป็นต้น
แต่ในอนาคต หากมีการพัฒนานาโนเทคโนโลยีจนสามารถสร้างนาโนเซนเซอร์ (nanosensor) มาได้สำเร็จจะสามารถนำมาแก้ปัญหาการแพร่ระบาดของเชื้อโรคได้อย่างมี ประสิทธิภาพเนื่องจากนาโนเซนเซอร์มีขนาดที่ใกล้เคียงกับไวรัสและสามารถตรวจจับเชื้อโรคที่มีปริมาณเพียงเล็กน้อยได้ ทำให้เกษตรกรทราบได้อย่างรวดเร็วว่ามีการติดเชื้อของพืชผลและปศุสัตว์เกิดขึ้น ทำให้เกษตรกรมีเวลานานพอที่จะหาทางยับยั้งการระบาดของโรค โดยการกักบริเวณและ หาวิธีการรักษาโรคที่มีประสิทธิภาพสูง
การปกป้องและเฝ้าระวังพืชผลและปศุสัตว์จากสภาวะอากาศที่ไม่แน่นอน การรุกรานของวัชพืช การขาดแคลนน้ำและแร่ธาตุในดิน เวลาที่เหมาะสมในการใส่ปุ๋ย รดน้ำหรือให้อาหารเสริม และเวลาที่เหมาะในการเก็บเกี่ยวผลผลิต เป็นอีกปัญหาหนึ่งของอุตสาหกรรมการเกษตรในปัจจุบัน ทุกวันนี้เกษตรกรต้องคอยสังเกตุและติดตามสภาพของพืชผลและปศุสัตว์ของตนเองอยู่ตลอดเวลา ซึ่งการเฝ้าระวังนี้ทำให้เกษตรกรต้องเสียเวลามาก และต้องอาศัยความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ของแต่ละบุคคล ยกตัวอย่างเช่น เมื่อพบว่ามีแมลงศัตรูพืชระบาดก็ต้องพ่นยาฆ่าแมลงเป็นครั้งๆ ไป
สำหรับการแก้ไขปัญหาที่ยุ่งยากเหล่านี้สามารถทำให้ง่ายขึ้นด้วยนาโนเทคโนโลยีอีกเช่นเดียวกัน โดยการใช้การเกษตรแบบควบคุมภาวะแวดล้อม (Controlled Environment Agriculture, CEA) ซึ่งเป็นเทคโนโลยีทางการเกษตรแบบใหม่ที่ทำการเพาะปลูกพืชในพื้นที่ขนากเล็กที่ปิดมิดชิดและมีระบบคอมพิวเตอร์และเซนเซอร์ในการควบคุมสภาวะแวดล้อมต่างๆ ให้เหมาะสมกับการเจริญของพืชแต่ละชนิด ปัจจุบัน สหรัฐฯ สหภาพยุโรป และญี่ปุ่น ได้เริ่มใช้เทคโนโลยีในการเพาะปลูกพืชเศรษฐกิจแล้ว
การนำเอาวิทยาการทางนาโนเทคโนโลยีเช่น นาโนเซนนเซอร์มาผสมผสานเข้ากับเทคโนโลยีการเกษตรแบบควบคุมภาวะแวดล้อมที่มีระบบการตรวจวัดสภาพของพืชผลที่ดีเยี่ยมอยู่แล้ว จะสามารถทำให้เดษตรกรรู้สภาพของพืชผลตลอดเวลาและช่วยประเมินเวลาที่เหมาะสมที่สุดในการเก็บเกี่ยวผลผลิต นอกจากนี้ยังทำให้ผลิตผผผลทางการเกษตรปราศจากการปนเปื้อนจากสารเคมีตกค้าง ไม่มีแมลงศัตรูพืช และจุลินทรีย์ก่อโรครบกวนระหว่างทำการเพาะปลูกโดยสิ้นเชิง ปละยังใช้ในการเพาะปลูกพืชนอกฤดูกาลได้อีกด้วย

ปศุสัตว์
นักวิจัยอเมริกากำลังพัฒนาวิธีการติดตั้งนาโนไบโอเซนเซอร์ที่ใช้ในการตรวจจับเชื้อแบคทีเรียก่อโรคในนมไว้กับเครื่องรีดน้ำนมวัว จะสามารถลดการปนเปื้อนของเชื้อก่อโรคในน้ำนมดิบได้อย่างมีประสิทธิภาพ
สืบเนื่องจากมีการแพร่ระบาดของโรคร้ายแรงในสัตว์เกิดขึ้นบ่อยครั้ง เช่น โรควัวบ้า (Bovine spongiform encephalopathy, BSE) โรคปากและเท้าเปื่อย (Foot and mouth disease: FMD) และโรคสเครปี (Scrapie) ในแพะและแกะ จึงเป็นเหตุจูงใจให้นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยเพอร์ดู (Purdue University) ในสหรัฐฯ นำเอานาโนเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาระบบการเฝ้าระวังการแพร่ระบาดของโรคสัตว์ พร้อมกับติดตามการเจริญ ภาวะโภชนาการการขยายพันธุ์และการอพยพย้ายถิ่นของฝูงปศุสัตว์โดยการฝังอุปกรณ์รับส่งคลื่นวิทยุขนาดจิ๋วไว้ใต้ผิวหนังปศุสัตว์เพื่อใช้ในการติดตามและรายงานข้อมูลของปศุสัตว์ตลอดเวลา จึงสามารถป้องกันโรคระบาดของสัตว์ได้อย่างทันท่วงที

การเพิ่มมูลค่าวัสดุทางการเกษตร
ศาสตราจารย์ โทนี่ บาซิก (Tony Bacic) แห่งภาควิชาพฤกษศาสตร์ มหาวิทยาลัยเมลเบิร์น(University of Melbourne) ออสเตรเลีย ได้กล่าวถึงการเพิ่มมูลค่าของวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เช่น ฟางข้าว โดยการนำมาย่อยสลายให้มีขนาดเล็กลงจนเป็นอนุภาคนาโนเพื่อใช้เป็นวัตถุดิบในการสังเคระห์พอลิเมอร์ชีวภาพที่ปรับแต่งรสชาดให้เหมือนไขมันซึ่งสามารถนำมาใช้แทนไขมันในอาหารเพื่อสุขภาพ และอาหารสำหรับผู้ที่ต้องการควบคุมน้ำหนัก
นักวิจัยจากคณะเกษตรของมหาวิทยาลัยเพอร์ดู ในสหรัฐฯ ได้คิดค้นวิธีการใช้ประโยชน์จากอรุภาคดินเหนียวนาโน (clay nanoparticles) โดยนำไปใช้เป็นส่วนผสมในการสังเคราะห์พลาสติกแบบคอมพอสิทที่แข็งแรง ทนร้อน และป้องกันการรั่วซึมของอากาศได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ยังสามารถนำอนุภาคดินเหนียวนาโนไปใช้ในการจับธาตุอาหารที่พืชต้องการ หรือใช้จับสารเคมีอันตรายที่ปนเปื้อนในดิน
ไทยควรทำอะไรการปฏิวัติทางเทคโนโลยีชีวภาพที่กำลังเกิดขึ้น จะมีความสำคัญต่อมนุษยชาติไม่น้อยไปกว่า การปฏิวัติทางเทคโนโลยีสารสนเทศ แม้จะต่างกันบ้างตรงที่จะใช้เวลานานกว่าในการพัฒนา ผลผลิตจากการวิจัย ซึ่งส่วนหนึ่งเนื่องจากเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ ความเป็นอยู่ของมนุษย์ และสิ่งแวดล้อม ที่จะต้องมีการตรวจวิเคราะห์อย่างละเอียดเสียก่อน ไทยเป็นประเทศที่อยู่ใน แถบร้อนและชื้น มีความหลากหลายทางชีวภาพ เฉพาะพืช อย่างเดียว ไทยก็มีอยู่ถึงหนึ่งในสิบของพืชทั้งหมดในโลก ทั้งยังเป็น ดินแดนต้นกำเนิดของพืชสำคัญหลายชนิด เช่น กล้วย เป็นต้น ในด้านจุลชีพรวมทั้งพวกเห็ด รา ประเทศไทยก็มี อยู่หลากหลายมาก หลายตัวมีคุณสมบัติน่าสนใจ เช่น สามารถ ฆ่าแมลงได้ ขณะนี้ สวทช. ได้ร่วมกับ สกว., สนับสนุนการวิจัยโครงการความหลากหลายทางชีวภาพ เพื่อศึกษา อนุรักษ์ และนำความหลากหลายนี้มาใช้ประโยชน์ เช่น นำเชื้อราที่มีคุณสมบัติฆ่าแมลงไปใช้เป็น สารกำจัดแมลง หรือนำไปศึกษาส่วนประกอบเพื่อพัฒนาเป็นสารฆ่าแมลงจากธรรมชาติ เป็นต้น ไทยเป็นเมืองเกษตรมาแต่เดิม ปัจจุบันก็อาศัยส่งออกสินค้าเกษตรนำเงินตราเข้าประเทศ ในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา เราได้พึ่งอุตสาหกรรมที่ไม่เกี่ยวข้องกบการเกษตรมากขึ้น นับตั้งแต่ “เศรษฐกิจฟองสบู่” แตก เราจำเป็นต้องปรับแนวคิดหลักสำหรับอนาคต บัดนี้ค่อนข้างชัดเจน แล้วว่า เราไม่สามารถแข่งขันในอุตสาหกรรมหลายชนิดที่ต้องการแค่แรงงานราคาถูก หรือ ผลิตผลทางการเกษตรที่มูลค่าผลผลิตต่ำจากการไร้เทคโนโลยีมีทางรอดอย่างไรสำหรับประเทศไทยที่ถูกต่างชาติตราหน้าว่า มีดีแค่เซ็กซ์ และสนามกอล์ฟ ทางรอดก็คือ ไทยจะต้องให้ความสำคัญกับการสร้างความรู้ ความสามารถทางวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยีให้มากขึ้น เพื่อให้สามารถพึ่งตนเองได้ในการผลิตสินค้าและบริการที่มีมูลค่าสูงขึ้น สามารถแข่งขันในตลาดสากลได้ เทคโนโลยีชีวภาพเป็นเครื่องมือสำคัญสู่ทางรอดนี้ ประเทศไทย มี”ต้นทุน” อยู่ไม่น้อย เรามีความรู้ ความสามารถด้านการเกษตรเป็นทุนเดิม อยู่แล้ว ลมฟ้าอากาศ ก็เอื้อหนุนให้ได้ผลิตผลที่ดีมีคุณภาพ อีกทั้งเทคโนโลยีชีวภาพที่เป็น ความร่วมมือระหว่างผู้มีความรู้ ความสามารถในด้านวิทยาการการแพทย์ การเกษตร สิ่งแวดล้อม และวิศวกรรมกระบวนการ ไทยเราเองก็ไม่น้อยหน้าใคร หากรัฐบาลให้การสนับสนุน ไทยก็มี ศักยภาพที่จะไปได้ไกล ดูแต่สิงคโปร์ซึ่งมีประชากร น้อยกว่าเราหลายสิบเท่า แถมไม่ค่อยมีทรัพยากรชีวภาพเลย กลับให้การสนับสนุนเทคโนโลยีชีวภาพมากกว่าไทยหลายเท่า การสนับสนุนนี้ทำให้เกิดภาพว่า รัฐบาลของเขาเอาจริง ทำให้นานาชาติเข้ามาลงทุน ก่อให้เกิดผลพวงที่คุ้มกับการทุ่มเท ของรัฐบาล ประเทศไทยมีความอุดมสมบูรณ์จนมีคำกล่าวว่า ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว ขณะที่เพื่อนบ้านต้องอดอยาก ไฉนเราจึงจะปล่อยให้โอกาสทองหลุดมือไป

http://bio510.blogspot.com/2006/01/bionanotechnology-21-3-21.html